มาทำความรู้จักเกมส์ต่อสู้กันเถอะ ^_^
เกมส์ต่อสู้ (Fighting games) คืออะไร ?
คือ เกมคอมพิวเตอร์ที่เน้นการดวล (duel) กันระหว่าง player 1 กับ player 2 หรือเป็นการดวลกันระหว่าง player กับ AI หรือ Bot โดยที่รูปแบบเกมโดยส่วนใหญ่เป็นการต่อสู้ด้วยศิลปะการต่อสู้แบบ 1 ต่อ 1 แต่บางเกมก็สู้กันเป็นทีม
โดยเป้าหมายของเกมส์ต่อสู้นั้น อยู่ที่การทำ damage ฝ่ายตรงข้ามให้หลอดเลือดลดลงเป็น 0 ให้ได้ หรือทำให้เลือดฝ่ายตรงข้ามลดลงมากกว่าของตนเองก่อนที่เวลาในการต่อสู้จะหมด
ตัวอย่างเกมส์ต่อสู้ที่โด่งดัง เช่น Street Fighter ซึ่งออกมาหลายภาคหลายเครื่อง หรือ Tekken ซึ่งล่าสุดออกมาถึงภาค 7 แล้ว ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงความสำเร็จของเกมซีรี่นั้นๆ
คือ เกมคอมพิวเตอร์ที่เน้นการดวล (duel) กันระหว่าง player 1 กับ player 2 หรือเป็นการดวลกันระหว่าง player กับ AI หรือ Bot โดยที่รูปแบบเกมโดยส่วนใหญ่เป็นการต่อสู้ด้วยศิลปะการต่อสู้แบบ 1 ต่อ 1 แต่บางเกมก็สู้กันเป็นทีม
โดยเป้าหมายของเกมส์ต่อสู้นั้น อยู่ที่การทำ damage ฝ่ายตรงข้ามให้หลอดเลือดลดลงเป็น 0 ให้ได้ หรือทำให้เลือดฝ่ายตรงข้ามลดลงมากกว่าของตนเองก่อนที่เวลาในการต่อสู้จะหมด
ทำให้เลือดฝ่ายตรงข้ามเป็น 0 คือภาระกิจของการเล่นเกมส์ประเภทนี้ ภาพจาก popoptiq.com
ตัวอย่างเกมส์ต่อสู้ที่โด่งดัง เช่น Street Fighter ซึ่งออกมาหลายภาคหลายเครื่อง หรือ Tekken ซึ่งล่าสุดออกมาถึงภาค 7 แล้ว ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงความสำเร็จของเกมซีรี่นั้นๆ
Street Fighter V จากเว็บ comicbook.com
Tekken 7 จากเว็บ playstation.com
เสน่ห์ของเกมส์ประเภทนี้คืออะไร ?
ถ้าจะพูดถึงเสน่ห์ดึงดูดของเกมส์ประเภทนี้ โดยส่วนตัวผมว่ามันเป็นเกมส์ที่โคตรตรงข้ามกับเกมส์แบบ Co-op เลยละครับ แทนที่จะช่วยกัน ดันมาอัดกันเอง ซึ่งในอดีตถือว่าเป็นมิติใหม่แห่งการเล่นเกมส์เลยก็ว่าได้ ผมจะบอกข้อดีของเกมส์แบบนี้เป็นข้อๆ นะครับ
1. ใช้เวลาในการแข่งขันต่อ 1 แมช สั้นมากๆ สั้นกว่า ROV เสียอีก เหมาะกับผู้เล่นที่มีเวลาว่างน้อย
2. ใช้สัญชาตญาณในการสั่งการเป็นหลัก ถ้าคุณมีเวลาคิดแผนขณะเล่นเกมส์แบบนี้แสดงว่าคู่ต่อสู้คุณอ่อนมาก!
3. เป็นอีก 1 เกมส์ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อให้สามารถควบคุมออกมาจากสัญชาตญาณได้อย่างเป็นธรรมชาติ นั่นแสดงว่า ถ้าคุณเล่นจนเก่งสามารถแข่งกับใครๆได้ คุณภูมิใจในตนเองได้เลย ว่าคุณได้เป็นผู้ฝึกตนมาอย่างดีเยี่ยม
4. มันเป็นการทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามด้วยท่วงท่าอันงดงาม ที่บอกแบบนี้เพราะตัวผมเองมีความชื่นชอบศิลปะการต่อสู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วครับ ก็เลยเพลิดเพลินกับท่าทางต่างๆของตัวละครในเกมส์
5. ไม่มีเลเวล เก่ง ไม่เก่ง อยู่ที่ฝีมือล้วนๆ
ุ6. ถ้าคุณเปิดใจกับมัน คุณก็จะพบว่าเกมส์ประเภทนี้ก็สามารถคิดค้นยุทธวิธีในการเอาชนะได้เรื่อยๆ ไม่แพ้เกมส์แบบอื่นๆเลย
ก็คงประมาณเท่านี้ละมังครับท่านผู้อ่าน ที่ทำให้ผมชอบเกมส์แนวนี้
เกมส์ต่อสู้มีการแบ่งประเภทอย่างไร ?
ถ้าจะพูดถึงเสน่ห์ดึงดูดของเกมส์ประเภทนี้ โดยส่วนตัวผมว่ามันเป็นเกมส์ที่โคตรตรงข้ามกับเกมส์แบบ Co-op เลยละครับ แทนที่จะช่วยกัน ดันมาอัดกันเอง ซึ่งในอดีตถือว่าเป็นมิติใหม่แห่งการเล่นเกมส์เลยก็ว่าได้ ผมจะบอกข้อดีของเกมส์แบบนี้เป็นข้อๆ นะครับ
1. ใช้เวลาในการแข่งขันต่อ 1 แมช สั้นมากๆ สั้นกว่า ROV เสียอีก เหมาะกับผู้เล่นที่มีเวลาว่างน้อย
2. ใช้สัญชาตญาณในการสั่งการเป็นหลัก ถ้าคุณมีเวลาคิดแผนขณะเล่นเกมส์แบบนี้แสดงว่าคู่ต่อสู้คุณอ่อนมาก!
3. เป็นอีก 1 เกมส์ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อให้สามารถควบคุมออกมาจากสัญชาตญาณได้อย่างเป็นธรรมชาติ นั่นแสดงว่า ถ้าคุณเล่นจนเก่งสามารถแข่งกับใครๆได้ คุณภูมิใจในตนเองได้เลย ว่าคุณได้เป็นผู้ฝึกตนมาอย่างดีเยี่ยม
4. มันเป็นการทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามด้วยท่วงท่าอันงดงาม ที่บอกแบบนี้เพราะตัวผมเองมีความชื่นชอบศิลปะการต่อสู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วครับ ก็เลยเพลิดเพลินกับท่าทางต่างๆของตัวละครในเกมส์
5. ไม่มีเลเวล เก่ง ไม่เก่ง อยู่ที่ฝีมือล้วนๆ
ุ6. ถ้าคุณเปิดใจกับมัน คุณก็จะพบว่าเกมส์ประเภทนี้ก็สามารถคิดค้นยุทธวิธีในการเอาชนะได้เรื่อยๆ ไม่แพ้เกมส์แบบอื่นๆเลย
ก็คงประมาณเท่านี้ละมังครับท่านผู้อ่าน ที่ทำให้ผมชอบเกมส์แนวนี้
เกมส์ต่อสู้มีการแบ่งประเภทอย่างไร ?
หากจะจัดประเภทของเกมส์ต่อสู้ ผู้เขียนขออธิบายตามประสบการณ์ส่วนตัวอันยาวนานในวงการเกมส์ต่อสู้ โดยการแบ่งประเภทของเกมส์ต่อสู้สามารถแบ่งประเภทได้หลายแนวทาง ซึ่งสามารถอธิบายการจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. การแบ่งประเภทตามการเคลื่อนที่ในแนวระนาบ
หมายถึง การแบ่งประเภทจากความสามารถในการเคลื่อนที่ในแนวระนาบ หรือแนวพื้นราบของสเตท สามารถแบ่งได้ เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.1 แบบจำกัดเลนเคลื่อนที่ : บังคับเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือข้างหลังได้เท่านั้น ไม่สามารถเบี่ยงซ้าย-ขวาได้ เช่น Street Fighter , Blazblue , Mortal Combat เป็นต้น
Mortal Kombat ภาพจาก softonic.com
1.2 แบบอิสระแนวระนาบ : บังคับเคลื่อนที่ไปข้างหน้า-หลัง และซ้าย-ขวา เข้า-ออก เพื่อหลบหลีกได้อิสระ แต่เป็นในแนวระนาบเท่านั้น เช่น Naruto Shipuden , Tekken , One piece เป็นต้น
One Piece Burning Blood ภาพจาก playstation.com
1.3 แบบอิสระเต็มรูปแบบ : สามารถเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทางอิสระ ทั้งหน้า-หลัง , ซ้าย-ขวา และบน-ล่าง โดยส่วนใหญ่ตัวละครในเกมส์จะสามารถบิน หรือลอยกลางอากาศได้ เช่น Mobile Suite Gundam , Dragon ball เป็นต้น
Mobile Suit Gundam: Extreme VS Force ภาพจาก gematsu.com
2. การแบ่งประเภทตามการบังคับควบคุมการโจมตี
หมายถึง การแบ่งประเภทตามวิธีการป้อนคำสั่งควบคุมการโจมตี หรือที่เรียกกันว่าคอมมมานด์ (Commands) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
2.1 ประเภทผนวกการกดทิศทางเป็นลำดับ : เป็นรูปแบบการบังคับที่เรียกว่าเก่าแก่มากในวงการเกมส์ต่อสู้ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากการกดทิศทางต่อเนื่องกันและตบท้ายด้วยปุ่มโจมตี อย่างเกม Street Fighter ที่โด่งดังก็จัดอยู่ในประเภทนี้ โดยเฉพาะท่า "ฮาโดเคน" ที่เลื่องชื่อ ด้วยการกด ↓ , ↘ , → , ต่อย เป็นต้น ซึ่งอาจจะยากสำหรับผู้เล่นที่เริ่มหัดเล่นเกมส์ประเภทนี้
Shinku Hadoken ! ภาพจาก geekculture.co
2.2 ประเภทเน้นการกดเป็นจังหวะ : เป็นพัฒนาการของการบังคับควบคุมของเกมส์ต่อสู้เลยก็ว่าได้ เพราะจะเน้นที่การกดปุ่มโจมตี เตะ-ต่อย เป็นจังหวะ แทนการกดที่ยากเย็นอย่างประเภทแรก ตัวอย่างการกดเช่น ต่อยซ้าย , ต่อยซ้าย , ต่อยขวา ของคาซึยะ ในเกม Tekken เป็นต้น
Flash Punch ของ Kazuya จาก Tekken ภาพจาก http://tvtropes.org
2.3 ประเภทใช้คำสั่งควบคุมอย่างง่ายๆ : เป็นรูปแบบการบังคับควบคุมที่พัฒนาต่อจากประเภทที่ 2 เนื่องจากผู้พัฒนาเกมส์มีแนวคิดว่า การต่อสู้ ต้องเน้นที่กลยุทธ์ มากกว่าความพิศดารในการกดคอมมานด์ของผู้เล่น ดังนั้นเกมส์ประเภทนี้จึงมีวิธีการกดควบคุมการโจมตีด้วยการกดที่ง่ายมากๆ เช่นกดเพียงปุ่มเดียว หรือกดเพียงไม่กี่ปุ่ม จดจำง่าย ใช้ได้กับทุกตัวละครในเกมส์นั้นๆ เช่น Naruto หรือ Dragon Ball เป็นต้น
Naruto Shippuden : Ultimate Ninja Storm 4 ภาพจาก playstation.com
3. การแบ่งประเภทตามการแสดงผลทางกราฟิก
หมายถึง การแบ่งประเภท ตามลักษณะการแสดงภาพ หรือเทคโนโลยีในการสร้างภาพในเกมส์ โดยในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
3.1 ประเภทแสดงผลด้วยกราฟิก 2 มิติ : เป็นรูปแบบการแสดงผลภาพที่ใช้มาตั้งแต่เริ่มมีการผลิตเกมส์คอมพิวเตอร์มาจนถึงยุคปัจจุบัน ด้วยเสน่ห์ของภาพแบบ 2 มิติ ทำให้ดูเหมือนว่าเรากำลังดูการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ อยู่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ปัจจุบันเรายังคงเห็นเกมส์ที่ทำกราฟิกแบบ 2 มิติอยู่ ตัวอย่างเช่น เกม Blazblue หรือ Skullgirls เป็นต้น
BlazBlue Centralfiction ภาพจาก thisisgamethailand.com
3.2 ประเภทแสดงผลด้วยกราฟิก 3 มิติ : เป็นรูปแบบการแสดงผลแบบ 3 มิติ ที่มีมุมมองการเคลื่อนไหวที่สมจริง การแสดงผลแบบนี้เริ่มตั้งแต่มีผู้คิดค้นเทคนิคการแสดงผลภาพแบบเวคเตอร์บนระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการสร้างโดยอ้างอิงจากสมการคณิตศาสตร์เชิงเส้น ซึ่งการแสดงผลแบบ 3 มิตินี้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวเกมเมอร์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเกมส์ในระบบ 3 มิติ เช่น Tekken , Naruto Shippuden และ Saint Seiya เป็นต้น
Saint Seiya: Soldiers' Soul ภาพจาก steampowered.com
4. การแบ่งประเภทตามจำนวนตัวละครที่ผู้เล่นเลือกใช้
หมายถึง การแบ่งประเภทตามจำนวนตัวละครที่ผู้เล่นสามารถเลือกมาเล่นได้ต่อ 1 แมช ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
4.1 ประเภทแข่งขันแบบเดี่ยว หรือ 1 ต่อ 1 : เป็นประเภทที่ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครมาต่อสู้ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้นต่อ 1 แมช และหากต้องการเล่นตัวละครอื่นจะต้องรอเลือกในแมชต่อไป เช่น เกม Street Fighter , Guilty Gear และ Blazblue เป็นต้น
Guilty Gear Xrd -SIGN- ภาพจาก playstation.com
4.2 ประเภทแข่งขันแบบทีม : เป็นประเภทที่ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครมาได้มากกว่า 1 ตัว ต่อ 1 แมช โดยสามารถแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่
4.2.1 ประเภททีมแบบออกตัวละครตามลำดับ : ตัวละครที่เลือกมาจะออกมาต่อสู้ตามลำดับ โดยจะต้องรอให้ตัวก่อนหน้าแพ้เสียก่อน เช่น เกม The King of Fighter เป็นต้น
The King of Fighters XIV ภาพจาก playstation.com
4.2.2 ประเภททีมแบบออกตัวละครไม่เป็นลำดับ : ตัวละครที่เลือกมาสามารถสลับกันออกมาสู้ได้อย่างอิสระ เช่นเกม Marvel VS Capcom เป็นต้น
Marvel vs. Capcom Infinite ภาพจาก wccftech.com
4.2.3 ประเภททีมแบบพาร์ทเนอร์ชิพส์ : จะมีการเลือกตัวละครหลักที่ใช้ต่อสู้ กับตัวละครช่วยเหลือ ซึ่งจะสามารถออกมาช่วยในบางจังหวะของการต่อสู้ ไม่สามารถสลับเอามาสู้แบบเต็มรูปแบบได้ ตัวอย่างเช่น เกม Naruto Shippuden เป็นต้น
Naruto Shippuden Ultimate Ninja Storm 4 ภาพจาก ricedigital.co.uk
5. การแบ่งประเภทตามที่มาของตัวละครและเนื้อเรื่อง
หมายถึง การแบ่งประเภทตามจุดกำเนิดของเนื้อเรื่องในเกมส์ สามราถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่
5.1 ประเภทที่ตัวละครและเนื้อเรื่องเกิดขึ้นในตอนที่สร้างเกมส์นั้นโดยเฉพาะ : เกมส์ประเภทนี้จะมีเนื้อเรื่องเป็นของตนเองไม่ได้นำเนื้อเรื่องและตัวละครมาจากสื่ออื่นๆ ทั้งนี้เมื่อเกมส์ประเภทนี้เกิดความโด่งดังจะมีโอกาสถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และการ์ตูนสูงมาก อาทิเช่น เกม Street Fighter , Tekken และ Dead or Alive เป็นต้น
Dead or Alive 5 ภาพจาก hitc.com
5.2 ประเภทที่เนื้อเรื่องและตัวละครมาจากภาพยนตร์ หรือการ์ตูน : เป็นเกมส์ต่อสู้ที่หยิบเอาเรื่องราวและตัวละครมาจากภาพยนตร์ หรือการ์ตูนมาสร้างเป็นเกมส์ เช่น Dragon Balls , Saint Seiya , Naruto Shippuden และ Gundam Versus เป็นต้น
DRAGON BALL XENOVERSE 2 ภาพจาก playstation.com
5.3 ประเภทที่เนื้อเรื่องมาจากเรื่องราวบนโลกแห่งความเป็นจริง : เป็นเกมส์ต่อสู้ที่หยิบยกเอาบุคคลและเรื่องราวบนโลกแห่งความเป็นจริงมาสร้างเป็นเกมส์ อาทิเช่น WWE 2K18 และ EA Sports UFC 3 เป็นต้น
EA Sports UFC 3 ภาพจาก metro.co.uk
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเกมส์แนวต่อสู้นี้ สำหรับคนที่เล่นเกมส์ประเภทนี้อยู่แล้วคงเข้าใจถึงความสนุกสนานเวลาที่เล่นเกมส์ต่อสู้กับเพื่อนๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้เขียนชอบเล่นเกมส์ประเภทนี้มากเป็นพิเศษ อาจจะเพราะเกิดในยุค 80 ซึ่งเป็นยุคทองของเกมส์ต่อสู้ก็ได้ครับ ^_^
บรรยากาศร้านเช่าเล่นเกมส์ยุค 80 ^_^ ภาพจาก dvdgameonline.com
บทความนี้ เป็นบทความที่เกี่ยวกับเกมส์ที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนเป็นจริงเป็นจังบทความแรกเลยก็ว่าได้ครับเพราะที่ผ่านมาไม่มีเวลารวบรวมข้อมูลที่เป็นชิ้นเป็นอันเลยสักที เคยคิดว่าจะเขียนออกมาเป็นเล่มกันเลยทีเดียว ไว้เป็นมหาคัมภีร์สำหรับการเล่นเกมส์ต่อสู้เลยละครับ จะขายได้ไม่ได้ไม่ได้คิดตรงนั้น อยากเขียนเพราะใจรัก แต่ก็ไม่ได้เขียนสักที เพราะเวลาว่างมีน้อย.....ปัจจุบันจึงคิดได้ว่า ทำไมต้องเขียนทีละเยอะๆด้วยละ??? ค่อยๆเขียนไป ค่อยๆตอดไปก็ได้หนิ จึงได้ตัดสินใจเริ่มเขียนคอนเทนท์นี้ขึ้นมาครับ
และโอกาสหน้า ผู้เขียนจะมาเจาะลึกถึงวิธีการเล่นเกมส์แนวนี้กันอย่างละเอียด สำหรับผู้ที่ชื่นชอบบทความที่ผมเขียน รอติดตามอ่านกันได้ในบล็อกนี้นะครับ
Thanks for reading.
ปล. อ่านแล้วอาจมีกลิ่นอายวิชาการไปนิด เพราะติดมาจากอาชีพปัจจุบันที่ทำอยู่ ^_^
โดย : ปริญญา เกิดปัญญา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น